×

معنى العمرة وحكمها (تايلندي)

إعداد: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

الوصف

من كتاب مختصر الفقه الإسلامي للشيخ محمد التويجري .. وفيه بيان معنى العمرة وحكم العمرة وواجبات العمرة وشروط صحة الطواف .. إلخ

تنزيل الكتاب

    ความหมายและหุก่มของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺ

    معنى العمرة وحكمها

    แปลโดย: อัสรัน   นิยมเดชา

    ترجمة: عصران نيئيوم ديشا

    ตรวจทาน: อุษมาน อิดรีส

    مراجعة: عثمان إدريس

    จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي


    ความหมายและหุก่มการประกอบพิธีอุมเราะฮฺ

    อุมเราะฮฺ คือ การทำอิบาดะฮฺด้วยการเฏาะวาฟรอบบัยติลลาฮฺ การสะแอระหว่างเขาเศาะฟา-มัรฺวะฮฺ และตัดหรือโกนผม

    หุก่มอุมเราะฮฺ

                อุมเราะฮฺ ถือเป็นสิ่งวาญิบที่จำเป็นต้องกระทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต ส่งเสริมให้กระทำในช่วงเวลาใดของปีก็ได้ และในช่วงเดือนหัจญ์ถือว่าประเสริฐกว่าช่วงอื่นๆ ส่วนอุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอนนั้นมีผลบุญเทียบเท่าการประกอบพิธีหัจญ์

                ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประกอบพิธีอุมเราะฮฺ 4 ครั้ง ทั้งหมดเป็นการประกอบในเดือนหัจญ์ นั่นคือ อุมเราะฮฺอัล-หุดัยบิยะฮฺ อุมเราะฮฺอัล-เกาะฎออ์ (ชดใช้) อุมเราะฮฺอัล-ญะอัรฺรอนะฮฺ และอุมเราะฮฺพร้อมกับหัจญ์ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นในเดือนซุลเกาะอฺดะฮฺ

    รุก่นต่างๆของพิธีอุมเราะฮฺ

                1.การเนียตครองอิหฺรอม

                2.การเฏาะวาฟ

                3.การสะแอ

    สิ่งที่เป็นวาญิบในพิธีอุมเราะฮฺ

                1.การเนียตครองอิหฺรอมจากมีกอต 

                2.การตัดหรือโกนผม

                ซึ่งผู้ใดละทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากที่กล่าวมา โดยที่เขามีความรู้เกี่ยวกับหุก่มของการกระทำนั้น ถือว่าเป็นบาป แต่ไม่ต้องจ่ายดัมแต่อย่างใด และพิธีอุมเราะฮฺของเขาก็ถือว่าใช้ได้

    เงื่อนไขที่ทำให้การเฏาะวาฟถูกต้อง

                1.การเนียต

                2.ปราศจากหะดัษใหญ่

                3.การปกปิดเอาเราะฮฺ

                4.เฏาะวาฟ 7 รอบ

                5.เริ่มทำการเฏาะวาฟจากหะญัรฺอัสวัด (หินดำ) และสิ้นสุดลง ณ จุดเดิม

                6.เฏาะวาฟรอบบัยติลลาฮฺทั้งหลัง

                7.เฏาะวาฟโดยให้กะอฺบะฮฺอยู่ทางซ้ายมือ

                8.ต้องมีความต่อเนื่องระหว่างแต่ละรอบ เว้นแต่จะมีความจำเป็น

    معلومات المادة باللغة الأصلية